เงินตลาดหายไปไหน! "นายกเล็กย่านตาขาว" ให้ไปถาม อบจ.ตรังอ้างเทศบาลไม่ได้เป็นเจ้าของ
ท้องถิ่น: เปิดบันทึกการประชุมสภา ทต.ย่านตาขาว ปมต่อเติมตลาดสด อบจ.ตรังไม่ขออนุญาต ขัด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ่อค้าแม่ค้าร้องฝ่ายค้านตามหาไอ้โม่งเก็บค่าเซ้ง-เช่าแผงบนถนนสาธารณะนาน 20 ปี หวังได้เงินคืน ประชุมสภาฯกระทู้เดือด ฝ่ายค้านจี้ถามเงินหายไปไหน ขณะต่อเติมทำไมไม่ยับยั้ง “นายกเล็กย่านตาขาว” โยนให้ไปถาม อบจ.ตรัง ยันไม่เคยได้รับผลประโยชน์จากตลาด
25 พฤษภาคม 2565 - จากกรณีการก่อสร้างต่อเติมตลาดสดองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง (อบจ.ตรัง) หรือตลาดสดย่านตาขาว อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาลตำบลย่านตาขาว ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ทำให้เกิดตลาดซ้อนตลาด โดยส่วนที่ต่อเติมอยู่นอกตัวอาคารตลาดและรุกล้ำลงบนถนนสาธารณะของเทศบาลฯ อีกทั้งยังมีการขายของทุกชนิดเหมือนกันกับผู้ค้าในอาคาร พ่อค้าแม่ค้าในอาคารเดือดร้อนขายของไม่ได้มายาวนานกว่า 20 ปีที่มีการต่อเติม แผงจำนวนมากถูกทิ้งร้าง ไม่มีผู้เช่า ขณะที่ตลาดส่วนต่อเติมเพิ่งถูกรื้อถอนตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่เทศบาลได้ฟ้องร้องไว้ ปัจจุบันจึงส่งผลกระทบมากมายต่อผู้ค้าหลายร้อยรายนั้น
ตลาดดังกล่าวก่อสร้างเมื่อปี 2544 เฉพาะตัวอาคาร ในยุคของนายกิจ หลีกภัย อดีตนายก อบจ. พี่ชายของ นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดย ด.ต.ชัยวัฒน์ เส้งนุ้ย อดีตสมาชิกสภา อบจ.ตรัง ร้องเรียนนายกิจต่อสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดตรัง ในข้อกล่าวหาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีเอื้อประโยชน์ให้บริษัทผู้เช่าอาคารตลาดย่านตาขาว โดยสำนักงาน ป.ป.ช.ประจำจังหวัดตรัง ได้แจ้งผลการพิจารณาข้อกล่าวหานายกิจ ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2562 ในข้อร้องเรียนที่ 2 คือ ปล่อยปละละเลยเอื้อประโยชน์ให้บริษัทผู้เช่าทำการต่อเดิมอาคารที่เช่า อันเป็นการละเมิดสัญญาเช่า จนทำให้ปิดถนนตลอดแนวไป 1 ด้าน ผู้ค้าซึ่งอยู่ภายในอาคารตลาดของ อบจ.ขายของไม่ดี ประชาชนไม่เดินเข้าไปซื้อของ จากการยื่นทั้งหมด 5 ข้อร้องเรียน
อย่างไรก็ตาม แม้มีการรื้อถอนตามคำสั่งศาลไปแล้ว แต่เกิดปัญหาต่อเนื่องตามมา โดยพ่อค้าแม่ค้าค้าจำนวนมากได้เข้าแจ้งปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นหลังการรื้อถอนว่า ในอดีตที่ผ่านมาตลอดระยะเวลา 20 ปี ในส่วนที่มีการต่อเติมลงบนถนนสาธารณะ มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายต่างๆ จากผู้ค้ามาโดยตลอด โดยแบ่งเป็นล็อกเป็นแผงค้าชัดเจนเสมือนเป็นตลาดถาวร ซึ่งพ่อค้าแม่ค้าจำนวนหนึ่งได้เข้าร้องเรียนกับสมาชิกสภาเทศบาล (ส.ท.) ตำบลย่านตาขาวกลุ่มฝ่ายค้าน เพื่อเรียกร้องให้ตรวจสอบการเรียกเก็บเงินดังกล่าวว่าใครเป็นผู้เก็บและเงินไปอยู่ที่ใด เพราะหากเป็นการเรียกเก็บโดยมิชอบ ก็หวังว่าจะได้เงินดังกล่าวคืน เพราะเป็นยอดเงินจำนวนมากและมีความสำคัญท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจของคนหาเช้ากินค่ำในขณะนี้
ทั้งนี้ ในประชุมสภาเทศบาลตำบลย่านตาขาว เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 สมัยสามัญ สมัยแรก ประจำปี 2565 มีนายพรชัย ทัฬหธีรวัฒน์ รองประธานสภาเทศบาลตำบลย่านตาขาว ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม โดยนายสุชาติ มัธยันต์ ส.ท.ฝ่ายค้านได้ตั้งกระทู้ถามนายวุฒิชัย สุนทรนนท์ นายกเทศมนตรีตำบลย่านตาขาวว่า ตามที่ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งให้เทศบาลตำบลย่านตาขาวรื้อถอนอาคารดัดแปลง ต่อเติม โดยมิได้ขออนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นนั้นขอถามว่า 1.จุดเริ่มต้นการต่อเติมตลาดนี้ เทศบาลและ อบจ.รับรู้หรือไม่ 2.เมื่อเริ่มต้นก่อสร้างจนถึงแล้วเสร็จสิ้นในการต่อเติมส่วนที่มิได้รับอนุญาต และได้ค้าขายกันมานานหลายปี เทศบาลไม่เคยเห็นและไม่เคยรับรู้ว่ามีส่วนต่อเติมนี้เลยหรือ 3.จากข้อที่ 2 ถ้าหากว่ารู้ว่ามีการต่อเติมในส่วนที่มิได้รับอนุญาต ทำไมถึงไม่ได้มีการยับยั้งการก่อสร้างตั้งแต่ต้น ทั้งๆ ที่ไม่ได้ขออนุญาต
“4.เมื่อส่วนต่อเติมเสร็จมีการเรียกเก็บผลประโยชน์ต่างๆ จากผู้ค้าทุกราย ผลประโยชน์นี้เทศบาลรับทราบหรือไม่ และ 5.ได้ฟ้องดำเนินคดีใดๆ ผู้ที่เรียกรับประโยชน์จากการให้ต่อเติมดังกล่าวหรือไม่ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไป ผมก็อยากทราบ ชาวบ้านก็อยากทราบ” นายสุชาติกล่าว
นายวุฒิชัย สุนทรนนท์ นายกเทศมนตรีตำบลย่านตาขาว ตอบกระทู้ว่า เรื่องการต่อเติมตลาดสดย่านตาขาวที่เป็นปัญหานั้น เทศบาลและ อบจ.ตรังไม่ได้รับรู้ในการต่อเติม ในส่วนของเทศบาล ตนในฐานะนายกเทศมนตรีก็ไม่ทราบ เนื่องจากเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้ว ในส่วนของ อบจตรังก็ต้องไปถามข้อมูลจาก อบจ.ในฐานะที่ อบจ.มีผลประโยชน์เก็บค่าตลาด เมื่อเริ่มต้นก่อสร้างจนถึงเสร็จสิ้น ในการต่อเติมส่วนที่มิได้รับอนุญาต และได้มีการค้าขายมาหลายปี เทศบาลย่านตาขาวก็ไม่ได้รับรู้เรื่องตรงนี้ เพราะตนมีปัญหากับนายก นายกิจ หลีกภัย อดีตนายก อบจ.ตรัง และกับสมาชิก อบจ.
นายวุฒิชัยกล่าวว่า ตลาดย่านตาขาวสร้างครั้งแรกเมื่อปี 2505 เป็นตลาดชั้นเดียว และครั้งที่2 สร้างราวปี 2542-2543 เทศบาลย่านตาขาวไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยที่ดินดังกล่าว สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้โอนให้แก่ อบจ.ตรังเป็นผู้รับผลประโยชน์ ต่อมา นายกิจได้ให้ช่าง อบจ.มาต่อเติมจากบ้านจีเอี๊ยะ ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ ไปถึงร้านเอบี ระยะประมาณ 14 คูหาอาคาร และสร้างอาคารเพิ่มและเป็นปัญหาด้วย รวมทั้งการต่อเติมตลาดที่เกิดปัญหา นายชัยวัฒน์ เส้งนุ้ย อดีต ส.จ.จึงได้ทำหนังสือถึง ป.ป.ช.ตรัง ก็มาเล่นเทศบาลว่าทำไมไม่ดำเนินการ เพราะสร้างโดยไม่บอกเทศบาลว่าจะต่อเติม
นายวุฒิชัยกล่าวอีกว่า เทศบาลก็ทำหนังสือถึง นายกอบจ.ตรัง แต่ อบจ.ก็เฉย ป.ป.ช.ก็เลยจะเล่นงานเทศบาล ตนในฐานะนายกฯ จึงได้ปรึกษารองนายกฯ ปลัดเทศบาล นิติกร ได้ข้อสรุปว่า ต้องทำหนังสือฟ้องนายก อบจ. ถ้าเราไม่ฟ้อง เราก็โดนฟ้องมาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และการรื้อถอนตรงนี้ ตอนแรกจะรื้อถอนเดือนธันวาคม 2564 แต่มารื้อเดือนมีนาคม 2565 เทศบาลมีอำนาจและเรียกเก็บค่าดำเนินการจ้างรื้อถอนจาก อบจ.เป็นเงิน 190,700 บาท ยืนยันว่าที่มาที่ไป ปัญหาต่างๆ เรื่องตรงนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเทศบาล
“4.เมื่อส่วนต่อเติมเสร็จมีการเรียกเก็บผลประโยชน์ต่างๆ จากผู้ค้าทุกราย ผลประโยชน์นี้เทศบาลรับทราบหรือไม่ และ 5.ได้ฟ้องดำเนินคดีใดๆ ผู้ที่เรียกรับประโยชน์จากการให้ต่อเติมดังกล่าวหรือไม่ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไป ผมก็อยากทราบ ชาวบ้านก็อยากทราบ” นายสุชาติกล่าว
นายวุฒิชัย สุนทรนนท์ นายกเทศมนตรีตำบลย่านตาขาว ตอบกระทู้ว่า เรื่องการต่อเติมตลาดสดย่านตาขาวที่เป็นปัญหานั้น เทศบาลและ อบจ.ตรังไม่ได้รับรู้ในการต่อเติม ในส่วนของเทศบาล ตนในฐานะนายกเทศมนตรีก็ไม่ทราบ เนื่องจากเวลาล่วงเลยมาหลายปีแล้ว ในส่วนของ อบจตรังก็ต้องไปถามข้อมูลจาก อบจ.ในฐานะที่ อบจ.มีผลประโยชน์เก็บค่าตลาด เมื่อเริ่มต้นก่อสร้างจนถึงเสร็จสิ้น ในการต่อเติมส่วนที่มิได้รับอนุญาต และได้มีการค้าขายมาหลายปี เทศบาลย่านตาขาวก็ไม่ได้รับรู้เรื่องตรงนี้ เพราะตนมีปัญหากับนายก นายกิจ หลีกภัย อดีตนายก อบจ.ตรัง และกับสมาชิก อบจ.
“ถามว่าทำไมไม่ยับยั้งการต่อเติม ถ้าเป็นสิทธิประโยชน์ของเทศบาล ก็จะยับยั้งการก่อสร้างตรงนี้ แต่เทศบาลไม่ได้รับรู้เรื่องการก่อสร้าง และผลประโยชน์ก็ต้องถาม อบจ.ตรัง เมื่อส่วนต่อเติมนี้เสร็จมีการเรียกเก็บผลประโยชน์ต่างๆ จากผู้ค้าทุกราย ผลประโยชน์ตรงนี้เทศบาลไม่เคยได้รับ เพราะตลาดนี้เป็นของ อบจ.ตรัง เทศบาลจะได้รับผลประโยชน์จากการทำความสะอาด 15 วันครั้ง ครั้งละ 2,500 บาท เดือนละ 5,000 บาท” นายกเทศมนตรีตำบลย่านตาขาวกล่าว
นายวุฒิชัยกล่าวว่า ตลาดย่านตาขาวสร้างครั้งแรกเมื่อปี 2505 เป็นตลาดชั้นเดียว และครั้งที่2 สร้างราวปี 2542-2543 เทศบาลย่านตาขาวไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยที่ดินดังกล่าว สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้โอนให้แก่ อบจ.ตรังเป็นผู้รับผลประโยชน์ ต่อมา นายกิจได้ให้ช่าง อบจ.มาต่อเติมจากบ้านจีเอี๊ยะ ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ ไปถึงร้านเอบี ระยะประมาณ 14 คูหาอาคาร และสร้างอาคารเพิ่มและเป็นปัญหาด้วย รวมทั้งการต่อเติมตลาดที่เกิดปัญหา นายชัยวัฒน์ เส้งนุ้ย อดีต ส.จ.จึงได้ทำหนังสือถึง ป.ป.ช.ตรัง ก็มาเล่นเทศบาลว่าทำไมไม่ดำเนินการ เพราะสร้างโดยไม่บอกเทศบาลว่าจะต่อเติม
นายวุฒิชัยกล่าวอีกว่า เทศบาลก็ทำหนังสือถึง นายกอบจ.ตรัง แต่ อบจ.ก็เฉย ป.ป.ช.ก็เลยจะเล่นงานเทศบาล ตนในฐานะนายกฯ จึงได้ปรึกษารองนายกฯ ปลัดเทศบาล นิติกร ได้ข้อสรุปว่า ต้องทำหนังสือฟ้องนายก อบจ. ถ้าเราไม่ฟ้อง เราก็โดนฟ้องมาตรา 157 ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และการรื้อถอนตรงนี้ ตอนแรกจะรื้อถอนเดือนธันวาคม 2564 แต่มารื้อเดือนมีนาคม 2565 เทศบาลมีอำนาจและเรียกเก็บค่าดำเนินการจ้างรื้อถอนจาก อบจ.เป็นเงิน 190,700 บาท ยืนยันว่าที่มาที่ไป ปัญหาต่างๆ เรื่องตรงนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเทศบาล
ไม่มีความคิดเห็น: