มองยุทธศาสตร์ “ประชาธิปัตย์” ณ ปลายด้ามขวานของแม่ทัพเลือกตั้ง ”นิพนธ์ บุญญามณี”
บทความ โดย.. เมือง ไม้ขม
และแล้ว อันวาร์ สาและ ส.ส.ปัตตานี เขต 1 ส.ส. หนึ่งเดียวใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประชาธิปัตย์ ก็ไขก๊อกยื่นไปลาออกจากพรรค พร้อมทิ้งท้ายวิพากษ์วิจารณ์ "บ้านเก่า" ที่เป็นที่เกิดทางการเมืองของตนเองให้เสียหายอีกครั้ง ก่อนจะเดินไปเป็นสมาชิกของ "พรรคลุงป้อม" หรือพลังประชารัฐ
ข่าวว่า นอกจากจะลงสมัคร ส.ส.ในเขตเดิม คือ เขต 1 ปัตตานีแล้ว ยังจะได้เป็นผู้รับผิดชอบการเลือกตั้งใน จ.ปัตตานีของ “พลังประชารัฐ” ด้วย
ใหญ่บะเริ่มเทิ่มกว่าอยู่กับประชาธิปัตย์ตั้งเยอะ แต่จะสอบได้หรือสอบตกยังไม่มีใครตอบได้
เพราะในเขต 1 จ.ปัตตานี คะแนนส่วนหนึ่งที่ทำให้ "อันวาร์" เป็น ส.ส.ติดต่อกันถึง 4 สมัย ไม่ได้เป็นคะแนนความรักชอบในอันวาร์เป็นการส่วนตัว แต่เป็นคะแนนของคนในเขต 1 ที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด เมื่ออันวาร์ไปลงสมัครในนามพรรคการเมืองอื่น คะแนนส่วนนี้ไม่ได้ตาม "อันวาร์" ไปด้วย
และหาก "นิพนธ์ บุญญามณี" ขุนพลผู้รับผิดชอบพื้นที่ปลายด้ามขวาน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ฟูมฟักผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ลงรับการเลือกตั้งในเขต 1 ที่ต้องชนกับอันวาร์ให้ถึงน้ำถึงเนื้อ
เพราะในเขต 1 จ.ปัตตานี คะแนนส่วนหนึ่งที่ทำให้ "อันวาร์" เป็น ส.ส.ติดต่อกันถึง 4 สมัย ไม่ได้เป็นคะแนนความรักชอบในอันวาร์เป็นการส่วนตัว แต่เป็นคะแนนของคนในเขต 1 ที่สนับสนุนพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอด เมื่ออันวาร์ไปลงสมัครในนามพรรคการเมืองอื่น คะแนนส่วนนี้ไม่ได้ตาม "อันวาร์" ไปด้วย
และหาก "นิพนธ์ บุญญามณี" ขุนพลผู้รับผิดชอบพื้นที่ปลายด้ามขวาน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ฟูมฟักผู้สมัครของพรรคประชาธิปัตย์ ที่ลงรับการเลือกตั้งในเขต 1 ที่ต้องชนกับอันวาร์ให้ถึงน้ำถึงเนื้อ
โอกาสที่ประชาธิปัตย์จะปักธงในเขต 1 สำเร็จอีกครั้งมีความเป็นไปได้สูงยิ่ง
โดยเฉพาะในการเลือกตั้งที่จะมาถึงในปี 2566 “นิพนธ์” กำหนดยุทธศาสตร์ในการเลือกตั้ง โดยใช้ยุทธศาสตร์พระราชทานในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ให้ผู้สมัครทุกคนใน 12 เขตเลือกตั้งของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันประกอบด้วย จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
มีการติวเข้มว่าที่ผู้สมัครและคณะทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เข้าใจถึงการนำยุทธศาสตร์พระราชทานไปใช้ในการหาเสียง ในการลงพื้นที่เพื่อพบปะกับประชาชน
โดยเฉพาะในการเลือกตั้งที่จะมาถึงในปี 2566 “นิพนธ์” กำหนดยุทธศาสตร์ในการเลือกตั้ง โดยใช้ยุทธศาสตร์พระราชทานในการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ให้ผู้สมัครทุกคนใน 12 เขตเลือกตั้งของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อันประกอบด้วย จ.ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
มีการติวเข้มว่าที่ผู้สมัครและคณะทำงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เข้าใจถึงการนำยุทธศาสตร์พระราชทานไปใช้ในการหาเสียง ในการลงพื้นที่เพื่อพบปะกับประชาชน
เป็นการย้ำให้เห็นถึงการดำเนินงานทางการเมืองของประชาธิปัตย์ที่เห็นถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์พระราชทาน เน้นการ "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" ซึ่งเป็นแนวทางที่กองทัพและหน่วยงานราชการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ใช้ขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบ และพัฒนาพื้นที่ พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
"นิพนธ์" กล่าวถึงยุทธศาสตร์นี้ของ "ประชาธิปัตย์" ในการนำทัพเพื่อการปักธงในพื้นที่ปลายด้ามขวานว่า ปัญหาความไม่สงบและความยากจนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องใช้ยุทธศาสตร์พระราชทานจากในหลวง ร.9 อย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งหากประชาธิปัตย์ได้รับการเลือกตั้งเข้าไปเป็นผู้แทนจะผลักดันยุทธศาสตร์พระราชทาน เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ในอดีตสมัยที่ประชาธิปัตย์เป็นรัฐบาล ได้ทำให้สถานการณ์ความรุนแรงลดลงได้ในระดับที่น่าพอใจ
และที่สำคัญ เรื่องการศึกษาคือปัญหาใหญ่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ สมัยที่ “จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์” หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เป็นผู้ผลักดันในการจัดงบให้โรงเรียนเอกชน มีการสอนวิชาอิสลามศึกษา ริเริ่มให้มีโครงการทัศนศึกษา เป็นเจ้าของนโยบายคืนครูให้นักเรียน การสร้างครูพันธุ์ใหม่ และเรื่องของติวเตอร์ชาแนล
มีการกำหนดยุทธศาสตร์ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาด้วยนโยบายสถานศึกษา 3 ดี ส่งเสริมประชาธิปไตย คุณธรรม และห่างไกลยาเสพติด
ที่สำคัญโครงการอาหารกลางวันฟรี นมฟรี ตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กจนถึงนักเรียน ป.6 เป็นนโยบายที่เกิดขึ้นจากพรรคประชาธิปัตย์ สมัยที่ “จุรินทร์” เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาทั้งสิ้น ซึ่งโรงเรียน ครู นักเรียนได้ประโยชน์ทั้งประเทศ และการศึกษามีการพัฒนาที่ถูกแนวทาง
เพียงแต่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหามากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งหากประชาธิปัตย์มี ส.ส. หรือมีโอกาสเป็นรัฐบาลจะทำการผลักดันในเรื่องการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเร่งด่วน
“ประชาธิปัตย์” มีจุดเด่นในเรื่องการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องการศึกษา ในอดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ใน จ.นราธิวาส เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รมว.ศึกษาธิการด้วยซ้ำ
และอีกเรื่องที่เป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ คือ การนำเอาปัญหาของคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย ในรัฐต่างๆ เพื่อทำมาหากิน ทั้งที่อยู่ในชมรมต้มยำกุ้ง ซึ่งเปิดร้านขายอาหาร และที่ประกอบอาชีพอื่นๆ ซึ่งได้รับความเดือดร้อนอย่างมากมาช้านาน
เพียงแต่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหามากกว่าภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งหากประชาธิปัตย์มี ส.ส. หรือมีโอกาสเป็นรัฐบาลจะทำการผลักดันในเรื่องการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างเร่งด่วน
“ประชาธิปัตย์” มีจุดเด่นในเรื่องการแก้ปัญหาและการพัฒนาเรื่องการศึกษา ในอดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ใน จ.นราธิวาส เคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็น รมว.ศึกษาธิการด้วยซ้ำ
และอีกเรื่องที่เป็นนโยบายของพรรคประชาธิปัตย์ คือ การนำเอาปัญหาของคนไทยที่อาศัยอยู่ในประเทศมาเลเซีย ในรัฐต่างๆ เพื่อทำมาหากิน ทั้งที่อยู่ในชมรมต้มยำกุ้ง ซึ่งเปิดร้านขายอาหาร และที่ประกอบอาชีพอื่นๆ ซึ่งได้รับความเดือดร้อนอย่างมากมาช้านาน
เช่น ปัญหาของใบอนุญาตในการทำงาน หรือเวิร์ก พอร์มิต การออกหนังสือเดินทางหรือพาสปอร์ต ใบอนุญาตการขับขี่รถยนต์-จักรยานยนต์ หรือการแจ้งเกิดแจ้งตายของคนไทยที่เข้าไปประกอบอาชีพในประเทศมาเลเซีย
รวมทั้งเรื่องคุณภาพชีวิต ที่เป็นปัญหาของชาวไทยมุสลิมและไทยพุทธนับแสนคนที่อาศัยและประกอบอาชีพในประเทศมาเลเซีย
และล่าสุด เมื่อวันที่ 16 ธันวาคมที่ผ่านมา ได้มีตัวแทนของชมรมต้มยำกุ้งได้เดินทางเข้าพบ "นิพนธ์ บุญญามณี" พร้อมหนังสือร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลให้ประสานงานกับประเทศมาเลเซียเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่ง "นิพนธ์" ได้กล่าวกับตัวแทนของชมรมต้มยำกุ้งว่า จะดำเนินการประสานงานกับนายกรัฐมนตรี และกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
เห็นย่างก้าวการเปิดเกมรุกทางการเมือง เพื่อหวังที่จะปักธงในสนามเลือกตั้ง ณ ปลายด้ามขวานของประชาธิปัตย์ที่ "นิพนธ์" เป็นขุนทัพครั้งนี้ จะเห็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนที่ชัดเจน และผู้สมัครที่ประชาธิปัตย์ส่งลงรับเลือกตั้งในครั้งนี้มีเสียงตอบรับจากคนในพื้นที่อย่างดียิ่ง
โอกาสที่ประชาธิปัตย์จะคืนฟอร์มในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี ส.ส.ทั้ง 3 จังหวัด ไม่ใช่เรื่องฝันกลางวัน แต่เป็นเรื่องจริงที่ได้รับการยืนยันจากประชาชนในพื้นที่
ไม่มีความคิดเห็น: