ยอมจ่ายส่วยแพงขึ้น! น้ำมันเถื่อนได้โอกาสน้ำมันขาดแคลนเร่งขนเพิ่มทั้งทางบก-ทะเลยังไม่พอขาย
เศรษฐกิจ: ปัญหาน้ำมันขาดแคลนยังโคม่า ทั้งขาดทั้งแพง “น้ำมันเถื่อน” เริงร่ายอมจ่ายส่วยแพงขึ้นลักลอบนำเข้ามากขึ้นยังไม่พอขาย นักธุรกิจโอดต้องซื้อน้ำมันแพง ปั๊มแบรนด์ก็ไม่ยอมขายให้ ถามรัฐบาล สงครามรัสเซีย-ยูเครน รบกันมาจะ 10 เดือนแล้ว ยังไม่เห็นมีนโยบายแก้ปัญหา มีแต่กู้เงินมาตรึงราคา และรีบเก็บเงินเข้ากองทุน
14 ธันวาคม 2565 - จากกรณีเกิดภาวะน้ำมันขาดแคลน และมีราคา 2 มาตรฐาน ระหว่างปั๊มน้ำมันของบริษัทกับปั๊มอิสระ ซึ่งเกิดขึ้นทั่วประเทศโดยเฉพาะภาคใต้นั้น ขณะนี้ ปัญหาความขาดแคลนยังไม่คลี่คลายและทวีความรุนแรงกว่าเดิม แม้จะมีคำสั่งจากอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. ให้ คลังนำน้ำมันดีเซลสำรอง 219 ลิตรมาจำหน่ายเพื่อทดแทนการขาดแคลน แต่ก็ไม่ได้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
หลังจากที่มีการขาดแคลนน้ำมันเกิดขึ้นและคลังกำหนดราคาขายให้ปั๊มอิสระที่แพงมาก ได้ทำให้น้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซียเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการ โดยมีขบวนการลักลอบนำเข้ามาทางชายแดน อ.สะเดา จ.สงขลา ใช้รถบรรทุกหัวลาก ซึ่งมีอยู่นับร้อยคัน และรถกระบะดัดแปลงที่ติดถังภายในรถบรรจุ 1,000-2,000 ลิตร ที่มีอยู่นับ 100 คัน เพื่อนำมาขายให้ผู้ต้องการ รวมทั้งเริ่มมีการนำเข้าน้ำมันเถื่อนทางทะเล ด้านอ่าวไทยและอันดามันอีกครั้ง โดยยอมจ่ายส่วยให้เจ้าหน้าที่ในราคาแพงขึ้น เนื่องจากน้ำมันในประเทศมาเลเซียมีราคาลิตรละ 16 บาทเท่านั้น ดังนั้น การบริหารพลังงานในประเทศที่เกิดขึ้นจึงเป็นช่องทางให้ผู้ค้าน้ำมันเถื่อนนำน้ำมันเถื่อนเข้ามาอย่างเป็นล่ำเป็นสัน และทำให้รัฐบาลต้องขาดภาษีเป็นจำนวนมาก
น.ส.พันธิพา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า ได้ขอร้องให้บริษัทน้ำมันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเกิดจากความล่าช้าในการขนส่งจากโรงกลั่นไปยังคลังน้ำมัน ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ส่วนเรื่องราคาที่มีการขายให้บัญชีปั๊มและบัญชีค้าส่งไม่เท่ากัน ก็ได้ขอร้องให้บริษัทเข้าไปดูแล ซึ่งยอมรับว่า กรมธุรกิจพลังงานแทรกแซงในเรื่องการกำหนดราคาขายไม่ได้ แต่เชื่อว่าสถานการณ์การขาดแคลนน้ำมันจะดีขึ้น เพราะโรงกลั่นที่ปิดซ่อมบำรุงประจำปีได้กลับมาดำเนินการแล้ว
ด้านนายอนันต์ อุดมทรัพย์ เจ้าของปั๊มอิสระใน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า เหนื่อยและลำบากมากในการหาน้ำมันมาขาย และที่สำคัญต้องตอบลูกค้าถึงเรื่องที่ปั๊มต้องขายน้ำมันราคาแพงกว่าปั๊มแบรนด์ เพราะซื้อมาจากคลังด้วยราคาที่แพง บางครั้งตนก็บอกให้ลูกค้าไปเติมจากปั๊มแบรนด์เพื่อตัดปัญหา วันนี้ก็ ปิดๆ เปิด ๆ ตามสภาพของการขาดแคลน
"สิ่งที่ขอถามผู้บริหารประเทศก็คือ ขณะนี้ประเทศฟื้นตัวจากโควิด-19 นักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางเข้ามาเที่ยวมากขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอย่างพัทลุง ตรัง กระบี่ เป็นต้น และยิ่งช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จำนวนคนเดินทางกลับบ้านและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวมีจำนวนมาก เมื่อน้ำมันในคลังขาดแคลน แม้แต่ปั๊มแบรนด์ของบริษัทน้ำมันทั้งของไทยและต่างชาติมีน้ำมันไม่พอขาย มีการปันส่วน อยากถามว่ารัฐบาลคิดอะไรอยู่ และบริหารประเทศแบบไหน จึงปล่อยให้เกิด วิกฤตพลังงานขนาดนี้" นายอนันต์ กล่าว
นายชาตรี นพรุจน์ นักธุรกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า ธุรกิจที่ทำอยู่ต้องใช้น้ำมันเป็นจำนวนมาก เดือดร้อนมาก เพราะซื้อน้ำมันจากจ็อบเบอร์มาใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อการลดต้นทุน แต่วันนี้น้ำมันขาดแคลนและมีราคาแพง และที่สำคัญ จะไปซื้อน้ำมันจากปั๊มแบรนด์ก็ไม่ได้ เพราะเขาถูกบังคับไม่ให้ขายให้ลูกค้ารายใหญ่ที่บรรจุถัง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและการขนส่งเดือดร้อนทุกบริษัท อยากถามรัฐบาลว่า รู้หรือไม่กับความเดือดร้อนของประชาชน ของผู้ประกอบการ
"ถามว่า รัฐบาลก็รู้ว่าปัญหาของราคาน้ำมันเกิดจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน ก.พ. และจะครบ 10 เดือนในสิ้นปีนี้ ถามว่า กระทรวงพลังงานมียุทธศาสตร์ในการบริหารพลังงานอย่างไร เพราะไม่เห็นมีนโยบายแก้ปัญหา มีแต่การกู้เงินมาตรึงราคา และรีบเก็บเงินเข้ากองทุน" นายชาตรีกล่าว
นายชาตรีกล่าวว่า วันนี้ กระทรวงพลังงานเก็บเงินเข้ากองทุนที่เป็นน้ำมันดีเซลลิตรละ 8 บาทกว่า ถ้าชะลอกการเก็บทำให้น้ำมันดีเซลในประเทศขายได้ในลิตรละ 28 บาทกว่าเท่านั้น ทำไมจึงต้องรีบเก็บในขณะที่เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และอื่นๆ ฟื้นตัว ทำไมไม่ชะลอการเก็บ หรือลดการเก็บ เพื่อให้น้ำมันทุกตัวลดลง ซึ่งจะส่งผลดีกับการฟื้นตัวของประเทศหลังโควิด-19 ที่สำคัญคือ สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังไม่มีท่าทีจะยุติ และอาจจะลุกลามมากกว่าที่เป็นอยู่ ถามว่า กระทรวงพลังงานและรัฐบาลมีนโยบายอย่างไรที่จะทำให้วิกฤติพลังงานลดน้อยลง
ในขณะที่บริษัทผู้ค้าส่งน้ำมันแห่งหนึ่ง ใน จ.สงขลา เปิดเผยว่า แต่ละวันต้องหาน้ำมันให้ลูกค้าด้วยการจองน้ำมันจากจ็อบเบอร์ล่วงหน้า 2- 3 วัน และได้มาเพียงเล็กน้อย เช่นต้องการน้ำมัน 30,000 ลิตร ก็อาจะได้ 6 พันลิตร หรือบางวันได้แก๊สโซฮอลล์ 95 เพียง 4,000 ลิตร จากความต้องการของลูกค้า 20,000 ลิตร เปิดบริษัทมาแล้ว 27 ปี ยังไม่มีวิกฤติของน้ำมันอย่างที่เกิดขึ้นในยุคที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
น.ส.พันธิพา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า ได้ขอร้องให้บริษัทน้ำมันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเกิดจากความล่าช้าในการขนส่งจากโรงกลั่นไปยังคลังน้ำมัน ที่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ส่วนเรื่องราคาที่มีการขายให้บัญชีปั๊มและบัญชีค้าส่งไม่เท่ากัน ก็ได้ขอร้องให้บริษัทเข้าไปดูแล ซึ่งยอมรับว่า กรมธุรกิจพลังงานแทรกแซงในเรื่องการกำหนดราคาขายไม่ได้ แต่เชื่อว่าสถานการณ์การขาดแคลนน้ำมันจะดีขึ้น เพราะโรงกลั่นที่ปิดซ่อมบำรุงประจำปีได้กลับมาดำเนินการแล้ว
ด้านนายอนันต์ อุดมทรัพย์ เจ้าของปั๊มอิสระใน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า เหนื่อยและลำบากมากในการหาน้ำมันมาขาย และที่สำคัญต้องตอบลูกค้าถึงเรื่องที่ปั๊มต้องขายน้ำมันราคาแพงกว่าปั๊มแบรนด์ เพราะซื้อมาจากคลังด้วยราคาที่แพง บางครั้งตนก็บอกให้ลูกค้าไปเติมจากปั๊มแบรนด์เพื่อตัดปัญหา วันนี้ก็ ปิดๆ เปิด ๆ ตามสภาพของการขาดแคลน
"สิ่งที่ขอถามผู้บริหารประเทศก็คือ ขณะนี้ประเทศฟื้นตัวจากโควิด-19 นักท่องเที่ยวเริ่มเดินทางเข้ามาเที่ยวมากขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติอย่างพัทลุง ตรัง กระบี่ เป็นต้น และยิ่งช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ จำนวนคนเดินทางกลับบ้านและนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวมีจำนวนมาก เมื่อน้ำมันในคลังขาดแคลน แม้แต่ปั๊มแบรนด์ของบริษัทน้ำมันทั้งของไทยและต่างชาติมีน้ำมันไม่พอขาย มีการปันส่วน อยากถามว่ารัฐบาลคิดอะไรอยู่ และบริหารประเทศแบบไหน จึงปล่อยให้เกิด วิกฤตพลังงานขนาดนี้" นายอนันต์ กล่าว
นายชาตรี นพรุจน์ นักธุรกิจอุตสาหกรรม กล่าวว่า ธุรกิจที่ทำอยู่ต้องใช้น้ำมันเป็นจำนวนมาก เดือดร้อนมาก เพราะซื้อน้ำมันจากจ็อบเบอร์มาใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อการลดต้นทุน แต่วันนี้น้ำมันขาดแคลนและมีราคาแพง และที่สำคัญ จะไปซื้อน้ำมันจากปั๊มแบรนด์ก็ไม่ได้ เพราะเขาถูกบังคับไม่ให้ขายให้ลูกค้ารายใหญ่ที่บรรจุถัง ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมและการขนส่งเดือดร้อนทุกบริษัท อยากถามรัฐบาลว่า รู้หรือไม่กับความเดือดร้อนของประชาชน ของผู้ประกอบการ
"ถามว่า รัฐบาลก็รู้ว่าปัญหาของราคาน้ำมันเกิดจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่เกิดขึ้นตั้งแต่เดือน ก.พ. และจะครบ 10 เดือนในสิ้นปีนี้ ถามว่า กระทรวงพลังงานมียุทธศาสตร์ในการบริหารพลังงานอย่างไร เพราะไม่เห็นมีนโยบายแก้ปัญหา มีแต่การกู้เงินมาตรึงราคา และรีบเก็บเงินเข้ากองทุน" นายชาตรีกล่าว
นายชาตรีกล่าวว่า วันนี้ กระทรวงพลังงานเก็บเงินเข้ากองทุนที่เป็นน้ำมันดีเซลลิตรละ 8 บาทกว่า ถ้าชะลอกการเก็บทำให้น้ำมันดีเซลในประเทศขายได้ในลิตรละ 28 บาทกว่าเท่านั้น ทำไมจึงต้องรีบเก็บในขณะที่เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และอื่นๆ ฟื้นตัว ทำไมไม่ชะลอการเก็บ หรือลดการเก็บ เพื่อให้น้ำมันทุกตัวลดลง ซึ่งจะส่งผลดีกับการฟื้นตัวของประเทศหลังโควิด-19 ที่สำคัญคือ สงครามรัสเซีย-ยูเครนยังไม่มีท่าทีจะยุติ และอาจจะลุกลามมากกว่าที่เป็นอยู่ ถามว่า กระทรวงพลังงานและรัฐบาลมีนโยบายอย่างไรที่จะทำให้วิกฤติพลังงานลดน้อยลง
ในขณะที่บริษัทผู้ค้าส่งน้ำมันแห่งหนึ่ง ใน จ.สงขลา เปิดเผยว่า แต่ละวันต้องหาน้ำมันให้ลูกค้าด้วยการจองน้ำมันจากจ็อบเบอร์ล่วงหน้า 2- 3 วัน และได้มาเพียงเล็กน้อย เช่นต้องการน้ำมัน 30,000 ลิตร ก็อาจะได้ 6 พันลิตร หรือบางวันได้แก๊สโซฮอลล์ 95 เพียง 4,000 ลิตร จากความต้องการของลูกค้า 20,000 ลิตร เปิดบริษัทมาแล้ว 27 ปี ยังไม่มีวิกฤติของน้ำมันอย่างที่เกิดขึ้นในยุคที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี
ไม่มีความคิดเห็น: