ล้มเหลวตั้งแต่ "ตัวพ่อ" อีก 100 ปีก็คงไม่เห็นหนทางดับไฟใต้
บทความ โดย.. ไชยยงค์ มณีพิลึก
4 มกราคม 2566 ที่ผ่านมาถือเป็นวันครบรอบ 19 ปี “ไฟใต้ระลอกใหม่” และย่างเข้าสู่ปีที่ 20 จากการยอมรับกันว่า ไม้ขีดก้านแรกถูกจุดไฟขึ้นจากเหตุการณ์ “ปล้นคลังปืนค่ายปิเหล็ง” หรือกองพลพลพัฒนาที่ 4 อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ฝ่ายบีอาร์เอ็นได้ปืนไปกว่า 400 กระบอก และสังหารทหารเวรยามไปหลายชีวิต
หลังเหตุการณ์นั้นได้ทำให้จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 3 จังหวัดคือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส กับ 4 อำเภอของ จ.สงขลา ได้แก่ จะนะ เทพา นาทวีและสะบ้าย้อย ต้องผจญเหตุรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
แม้ในเวลานี้ไฟใต้ก็ยังคุกรุ่น แม้ช่วงคืนเปลี่ยนผ่านศักราชสู่ปี พ.ศ. 2566 ก็ยังเกิดเหตุป่วนที่ จ.ปัตตานีถึง 7 จุด
3 มกราคม 2566 คืนก่อนถึงวันครบรอบ 19 ปีเหตุการณ์ปล้นปืน พบมีการลอบถอนหมุดรางรถไฟสายหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ในพื้นที่ อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งก่อนหน้าไม่นานก็มีการลอบวางระเบิดไปแล้ว 2 ลูกสร้างความเสียหายยับเยิน ถล่มทั้งขบวนรถไฟขนส่งสินค้าและเจ้าหน้าที่ที่เข้าซ่อมแซมทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิต
ต่อมาเช้า 4 มกราคม 2566 พบมีการนำถังดับเพลิงที่ดัดแปลงเป็นระเบิด 4 ลูกวางที่เสาไฟฟ้าแรงสูงที่บ้านควรเจดีย์ อ.เทพา จ.สงขลา จากนั้น 5 มกราคม 2566 วันก่อนเขียนบทความชิ้นนี้ก็ยังมีการลอบถอดหมุดรางรถไฟในพื้นที่ ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส อีกระลอก
ทั้งหมดทั้งปวงเป็นการยืนยันว่า ไฟใต้ระลอกใหม่ที่โชนเปลวมาจะครบ 2 ทศวรรษยังไม่มีอะไรบ่งชี้ได้เลยว่าจะมอดดับได้เมื่อใด เป้าหมายที่ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยประกาศว่าจะกำชัยชนะและคืนสันติสุขให้ชายแดนใต้ได้ในปี 2570 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า
แน่นอนถ้าจะพูดถึง “ความล้มเหลว” ในการดับไฟใต้ระลอกใหม่ ย่อมไม่ใช่เป็นของ “กองทัพภาคที่ 4” ที่เป็นร่มใหญ่ หรือ “กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า” ที่เป็นร่มเล็กคลุมชายแดนใต้เท่านั้น แต่ยังต้องนับเป็นความล้มเหลวของทุกหน่วยงานด้านความมั่นคงบนแผ่นดินปลายด้ามขวานกันเลยทีเดียว
ที่สำคัญต้องนับเป็นความล้มเหลวของ “แม่ทัพภาคที่ 4” ในฐานะ “ผอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า” ที่ตั้งแต่เกิดเหตุปล้นปืนค่ายปิเหล็ง เวลานี้มีเราแม่ทัพไล่เรียงมาแล้วรวมถึง 15 คน ซึ่งล้วนแล้วต่างเข้ามานำเสนอนโยบายและมาตรการดับไฟใต้ แต่กลับแทบไม่เคยมีท่วงทำนองของความเป็นเอกภาพที่เดินไปในทิศทางเดียวกันเลย
และที่สำคัญที่สุด ซึ่งถือเป็น “ตัวพ่อ” แห่งความล้มเหลวมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเกือบ 2 ทศวรรษแล้วก็คือ “รัฐบาล” แน่นอนว่าผ่านมาแล้ว 4 ชุดเริ่มจาก “ทักษิณ ชินวัตร” ต่อด้วย “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ตามด้วย “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
3 มกราคม 2566 คืนก่อนถึงวันครบรอบ 19 ปีเหตุการณ์ปล้นปืน พบมีการลอบถอนหมุดรางรถไฟสายหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ในพื้นที่ อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งก่อนหน้าไม่นานก็มีการลอบวางระเบิดไปแล้ว 2 ลูกสร้างความเสียหายยับเยิน ถล่มทั้งขบวนรถไฟขนส่งสินค้าและเจ้าหน้าที่ที่เข้าซ่อมแซมทั้งบาดเจ็บและเสียชีวิต
ต่อมาเช้า 4 มกราคม 2566 พบมีการนำถังดับเพลิงที่ดัดแปลงเป็นระเบิด 4 ลูกวางที่เสาไฟฟ้าแรงสูงที่บ้านควรเจดีย์ อ.เทพา จ.สงขลา จากนั้น 5 มกราคม 2566 วันก่อนเขียนบทความชิ้นนี้ก็ยังมีการลอบถอดหมุดรางรถไฟในพื้นที่ ต.ตันหยงมัส อ.ระแงะ จ.นราธิวาส อีกระลอก
ทั้งหมดทั้งปวงเป็นการยืนยันว่า ไฟใต้ระลอกใหม่ที่โชนเปลวมาจะครบ 2 ทศวรรษยังไม่มีอะไรบ่งชี้ได้เลยว่าจะมอดดับได้เมื่อใด เป้าหมายที่ รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เคยประกาศว่าจะกำชัยชนะและคืนสันติสุขให้ชายแดนใต้ได้ในปี 2570 หรืออีก 4 ปีข้างหน้า
ณ เวลานี้ยังไม่มีแม้แวบแสงว่างที่ปลายอุโมงค์
แน่นอนว่าเป้าหมายดังกล่าวหลุดออกมาจากริมฝีปากของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ที่เคยประกาศไว้อย่างเสียงดังฟังชัด ณ เวลานี้คำพูดเหล่านั้นน่าจะเป็นได้เพียงความฝันลมๆ แล้งๆ ของนายพลชรา
มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการแบ่งยุคการแก้ปัญหาไฟใต้มาตลอดว่า หลังเหตุปล้นปืนใหม่ๆ นับเป็น “ยุคมะงุมมะงาหรา” ของฝ่ายความมั่นคง เพราะนอกจากยังเกิดอาการงงๆ กับการหาสาเหตุไม่ได้แล้ว ยังไม่ยอมเชื่อว่าเป็นฝีมือของขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่มีชื่อเรียกว่า "บีอาร์เอ็น"
ทั้งที่มีการยืนยันมานานตั้งแต่เหตุการณ์เผาโรงเรียนคืนเดียว 36 โรงเมื่อปี 2536 รวมถึงมีเหตุการณ์ปล้นชิงปืนตามหน่วยทหาร ตำรวจ ป่าไม้ และหน่วยราชการอื่นๆ ให้เห็นมาโดยตลอด แต่ด้วยงาน “การข่าวที่อ่อนด้อย” กอปรกับ “ผู้นำมีวิสัยทัศน์สั้น” ทำให้ไม่เชื่อว่าเป็นแผนแบ่งแยกดินแดนของบีอาร์เอ็น
ต่อมาเริ่มมีพยานและหลักฐานให้เชื่อว่าเป็นการกระทำของบีอาร์เอ็นจริง นับเป็น “ยุคปิดบังอำพราง” เพราะมีการสั่งการจากส่วนกลางให้หน่วยงานในพื้นที่ โดยเฉพาะภายใต้ปีกของกองทัพภาคที่ 4 ห้ามเผยแพร่ข่าวสารให้สังคมรับรู้ว่า เหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนใต้เป็นฝีมือของขบวนการแบ่งแยกดินแดน
ด้วยเหตุผลบ้าๆ บอๆ ว่า ไม่ต้องการให้บีอาร์เอ็นได้รับการยกระดับจาก “โจรกระจอก” ขึ้นเป็น “โจรแบ่งแยกดินแดน” เพราะจะมีผลต่อเวทีโลก โดยเฉพาะองค์กรใต้ปีกของสหประชาชาติ อันเป็นไปตามคำแนะนำของกระทรวงต่างประเทศ ที่ไม่เคยแสดงบทบาทอะไรเป็นชิ้นเป็นอันต่อการแก้ไขปัญหาไฟใต้
เชื่อไหมว่าในช่วงระยะเวลาหนึ่งถึงขนาดว่า ถ้ามี “นายทหาร” ในสังกัด กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า คนไหนทำรายงานเรื่องราวของบีอาร์เอ็นเสนอขึ้นไป ไม่นานนักเขาจะโดนโยกย้ายให้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือหนักหน่อยก็โดนเด้งออกจากชายแดนใต้ให้ไปอยู่นอกพื้นที่เสียเลย
จึงไม่แปลกที่ “นโยบายดับไฟใต้” ของกองทัพภาคที่ 4 จะมีการเปลี่ยนชื่อไปตามแนวคิดของ “ท่านแม่ทัพ” ที่มีบุญวาสนาได้มาทำหน้าที่บริหารงบประมาณปีละประมาณ 30,000 ล้านบาทของแต่ละคนไปเรื่อยๆ ส่วนใครจะ “มีกึ๋น” หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แล้วเมื่อมีการโยกย้ายนโยบายของคนก็มักไม่ได้รับการสานต่อ
ตัวอย่างสมัยหนึ่งมีการใช้นโยบาย “ทุ่งยางแดงโมเดล” ดับไฟใต้ พอเปลี่ยนแม่ทัพคนใหม่กลับไปให้ความสำคัญกับนโยบาย “ภัยแทรกซ้อน” ที่แสดงว่าไม่ใช่เป็นเรื่องของการแบ่งแยกดินแดน แต่ในทางปฏิบัติกลับมีการตั้งงบประมาณเพื่อ “พาคนกลับบ้าน” ซึ่งก็เคยเป็นนโยบายของแม่ทัพคนก่อนโน้น
บางแม่ทัพประกาศนโยบายสู่ความสำเร็จของมาตรการดับไฟใต้ด้วยการตั้งกองกำลัง “ชป.ส่วนหน้า” เพื่อพิฆาตกองกำลังติดอาวุธของบีอาร์เอ็น ขณะที่บางแม่ทัพกลับไม่ได้มีอะไรใหม่ เพราะถนัดนโยบายแบบ “สร้างภาพ” มากกว่าให้เห็นถึงการใส่ใจในผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชน เป็นต้น
ถึงวันนี้มาตรการดับไฟใต้จึงวนเวียนอยู่เช่นเดิม และไม่มีอะไรที่พอจะไปหักล้างแนวทางการเดินหน้าของบีอาร์เอ็นได้เลย ทั้งแนวทาง “การทหาร” ที่ไม่เคยมีอะไรใหม่ แต่กลับใช้เล่นงานเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนได้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ขณะที่แนวทาง “การเมือง” ก็ได้สร้างภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งและทะลุทะลวงไว้เต็มอัตรา
แม้แต่นโยบายของกองทัพภาคที่ 4 ที่ส่งผ่านไปยัง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ที่ใช้คำเรียกเต็มปากว่า “สันติวิธี” ก็เป็นไปแบบ “จอมปลอม” เพราะเป็นการปิดล้อมตรวจค้นที่แทบปิดจ๊อบด้วย “วิสามัญฆาตกรรม” เสมอ หรือหากมีการประสานข้ามแดนไปจับกุมยังฝั่งประเทศเพื่อนบ้านก็มักได้ “ศพผู้ต้องหา” กลับมา
การดำเนินนโยบายสันติวิธีในรูปแบบจอมปลอมดังกล่าวจึงเป็น “เงื่อนไข” ให้ฝ่ายบีอาร์เอ็นนำไปใช้กล่าวหารัฐไทยว่า ไม่เคยจริงใจกับการแก้ปัญหาไฟใต้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะเป็นบทเรียนให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้คิดหาวิธีใหม่ในการ “จับเป็น” เพื่อนำสู่การได้รับรู้ข้อมูลเพื่อนำไปสานต่อ แต่กลับยังไม่เคยปรากฏให้เห็น
ถ้าการดับไฟใต้ของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ยังเป็นอยู่แบบนี้ หลังเปลี่ยนศักราชสู่ปีหน้าหรือช่วงวันที่ 4 มกราคม 2567 สื่อมวลชนก็คงยังได้พาดหัวข่าว “ไฟใต้ก้าวสู่ปีที่ 21” กันในรูปแบบเดิมๆ ที่ไม่เคยมีอะไรใหม่ๆ ให้ปรากฏ เช่นเดียวกับสถานการณ์ที่ก็ต้องมีการก่อเหตุรุนแรงแบบเข้มข้นและต่อเนื่องเหมือนๆ กัน
แน่นอนว่าเป้าหมายดังกล่าวหลุดออกมาจากริมฝีปากของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ที่เคยประกาศไว้อย่างเสียงดังฟังชัด ณ เวลานี้คำพูดเหล่านั้นน่าจะเป็นได้เพียงความฝันลมๆ แล้งๆ ของนายพลชรา
มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการแบ่งยุคการแก้ปัญหาไฟใต้มาตลอดว่า หลังเหตุปล้นปืนใหม่ๆ นับเป็น “ยุคมะงุมมะงาหรา” ของฝ่ายความมั่นคง เพราะนอกจากยังเกิดอาการงงๆ กับการหาสาเหตุไม่ได้แล้ว ยังไม่ยอมเชื่อว่าเป็นฝีมือของขบวนการแบ่งแยกดินแดนที่มีชื่อเรียกว่า "บีอาร์เอ็น"
ทั้งที่มีการยืนยันมานานตั้งแต่เหตุการณ์เผาโรงเรียนคืนเดียว 36 โรงเมื่อปี 2536 รวมถึงมีเหตุการณ์ปล้นชิงปืนตามหน่วยทหาร ตำรวจ ป่าไม้ และหน่วยราชการอื่นๆ ให้เห็นมาโดยตลอด แต่ด้วยงาน “การข่าวที่อ่อนด้อย” กอปรกับ “ผู้นำมีวิสัยทัศน์สั้น” ทำให้ไม่เชื่อว่าเป็นแผนแบ่งแยกดินแดนของบีอาร์เอ็น
ต่อมาเริ่มมีพยานและหลักฐานให้เชื่อว่าเป็นการกระทำของบีอาร์เอ็นจริง นับเป็น “ยุคปิดบังอำพราง” เพราะมีการสั่งการจากส่วนกลางให้หน่วยงานในพื้นที่ โดยเฉพาะภายใต้ปีกของกองทัพภาคที่ 4 ห้ามเผยแพร่ข่าวสารให้สังคมรับรู้ว่า เหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนใต้เป็นฝีมือของขบวนการแบ่งแยกดินแดน
ด้วยเหตุผลบ้าๆ บอๆ ว่า ไม่ต้องการให้บีอาร์เอ็นได้รับการยกระดับจาก “โจรกระจอก” ขึ้นเป็น “โจรแบ่งแยกดินแดน” เพราะจะมีผลต่อเวทีโลก โดยเฉพาะองค์กรใต้ปีกของสหประชาชาติ อันเป็นไปตามคำแนะนำของกระทรวงต่างประเทศ ที่ไม่เคยแสดงบทบาทอะไรเป็นชิ้นเป็นอันต่อการแก้ไขปัญหาไฟใต้
เชื่อไหมว่าในช่วงระยะเวลาหนึ่งถึงขนาดว่า ถ้ามี “นายทหาร” ในสังกัด กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า คนไหนทำรายงานเรื่องราวของบีอาร์เอ็นเสนอขึ้นไป ไม่นานนักเขาจะโดนโยกย้ายให้พ้นหน้าที่ความรับผิดชอบ หรือหนักหน่อยก็โดนเด้งออกจากชายแดนใต้ให้ไปอยู่นอกพื้นที่เสียเลย
จึงไม่แปลกที่ “นโยบายดับไฟใต้” ของกองทัพภาคที่ 4 จะมีการเปลี่ยนชื่อไปตามแนวคิดของ “ท่านแม่ทัพ” ที่มีบุญวาสนาได้มาทำหน้าที่บริหารงบประมาณปีละประมาณ 30,000 ล้านบาทของแต่ละคนไปเรื่อยๆ ส่วนใครจะ “มีกึ๋น” หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แล้วเมื่อมีการโยกย้ายนโยบายของคนก็มักไม่ได้รับการสานต่อ
ตัวอย่างสมัยหนึ่งมีการใช้นโยบาย “ทุ่งยางแดงโมเดล” ดับไฟใต้ พอเปลี่ยนแม่ทัพคนใหม่กลับไปให้ความสำคัญกับนโยบาย “ภัยแทรกซ้อน” ที่แสดงว่าไม่ใช่เป็นเรื่องของการแบ่งแยกดินแดน แต่ในทางปฏิบัติกลับมีการตั้งงบประมาณเพื่อ “พาคนกลับบ้าน” ซึ่งก็เคยเป็นนโยบายของแม่ทัพคนก่อนโน้น
บางแม่ทัพประกาศนโยบายสู่ความสำเร็จของมาตรการดับไฟใต้ด้วยการตั้งกองกำลัง “ชป.ส่วนหน้า” เพื่อพิฆาตกองกำลังติดอาวุธของบีอาร์เอ็น ขณะที่บางแม่ทัพกลับไม่ได้มีอะไรใหม่ เพราะถนัดนโยบายแบบ “สร้างภาพ” มากกว่าให้เห็นถึงการใส่ใจในผู้ใต้บังคับบัญชาและประชาชน เป็นต้น
ถ้าเปรียบนโยบายเหมือนการตัดเส้นทางรถไฟสายใหม่ เพื่อให้รถไฟ “ขบวนดับไฟใต้” ได้เดินทางถึงจุดหมาย วันนี้ที่ชายแดนใต้จึงยังไม่เห็นเส้นทางรถไฟที่มีความยาวต่อเนื่องกัน แต่กลับเต็มไปด้วยเส้นทางรถไฟที่ทับกันไปมาไม่ต่างจากร่างแห อย่าว่าไฟใต้ระลอกใหม่เดินมาแค่ 20 ปีเลย อีก 100 ปีก็ไม่เห็นหนทางที่จะมอดดับได้
ถึงวันนี้มาตรการดับไฟใต้จึงวนเวียนอยู่เช่นเดิม และไม่มีอะไรที่พอจะไปหักล้างแนวทางการเดินหน้าของบีอาร์เอ็นได้เลย ทั้งแนวทาง “การทหาร” ที่ไม่เคยมีอะไรใหม่ แต่กลับใช้เล่นงานเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนได้อยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ขณะที่แนวทาง “การเมือง” ก็ได้สร้างภาคประชาสังคมที่เข้มแข็งและทะลุทะลวงไว้เต็มอัตรา
แม้แต่นโยบายของกองทัพภาคที่ 4 ที่ส่งผ่านไปยัง กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ที่ใช้คำเรียกเต็มปากว่า “สันติวิธี” ก็เป็นไปแบบ “จอมปลอม” เพราะเป็นการปิดล้อมตรวจค้นที่แทบปิดจ๊อบด้วย “วิสามัญฆาตกรรม” เสมอ หรือหากมีการประสานข้ามแดนไปจับกุมยังฝั่งประเทศเพื่อนบ้านก็มักได้ “ศพผู้ต้องหา” กลับมา
การดำเนินนโยบายสันติวิธีในรูปแบบจอมปลอมดังกล่าวจึงเป็น “เงื่อนไข” ให้ฝ่ายบีอาร์เอ็นนำไปใช้กล่าวหารัฐไทยว่า ไม่เคยจริงใจกับการแก้ปัญหาไฟใต้มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งน่าจะเป็นบทเรียนให้ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ได้คิดหาวิธีใหม่ในการ “จับเป็น” เพื่อนำสู่การได้รับรู้ข้อมูลเพื่อนำไปสานต่อ แต่กลับยังไม่เคยปรากฏให้เห็น
ถ้าการดับไฟใต้ของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ยังเป็นอยู่แบบนี้ หลังเปลี่ยนศักราชสู่ปีหน้าหรือช่วงวันที่ 4 มกราคม 2567 สื่อมวลชนก็คงยังได้พาดหัวข่าว “ไฟใต้ก้าวสู่ปีที่ 21” กันในรูปแบบเดิมๆ ที่ไม่เคยมีอะไรใหม่ๆ ให้ปรากฏ เช่นเดียวกับสถานการณ์ที่ก็ต้องมีการก่อเหตุรุนแรงแบบเข้มข้นและต่อเนื่องเหมือนๆ กัน
แน่นอนถ้าจะพูดถึง “ความล้มเหลว” ในการดับไฟใต้ระลอกใหม่ ย่อมไม่ใช่เป็นของ “กองทัพภาคที่ 4” ที่เป็นร่มใหญ่ หรือ “กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า” ที่เป็นร่มเล็กคลุมชายแดนใต้เท่านั้น แต่ยังต้องนับเป็นความล้มเหลวของทุกหน่วยงานด้านความมั่นคงบนแผ่นดินปลายด้ามขวานกันเลยทีเดียว
ที่สำคัญต้องนับเป็นความล้มเหลวของ “แม่ทัพภาคที่ 4” ในฐานะ “ผอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า” ที่ตั้งแต่เกิดเหตุปล้นปืนค่ายปิเหล็ง เวลานี้มีเราแม่ทัพไล่เรียงมาแล้วรวมถึง 15 คน ซึ่งล้วนแล้วต่างเข้ามานำเสนอนโยบายและมาตรการดับไฟใต้ แต่กลับแทบไม่เคยมีท่วงทำนองของความเป็นเอกภาพที่เดินไปในทิศทางเดียวกันเลย
และที่สำคัญที่สุด ซึ่งถือเป็น “ตัวพ่อ” แห่งความล้มเหลวมาอย่างต่อเนื่องยาวนานเกือบ 2 ทศวรรษแล้วก็คือ “รัฐบาล” แน่นอนว่าผ่านมาแล้ว 4 ชุดเริ่มจาก “ทักษิณ ชินวัตร” ต่อด้วย “อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” ตามด้วย “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
แต่ที่บริหารมายาวนานเกือบ 10 ปีมานี้คือ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นั่นเอง
** สนับสนุน All about News ได้ที่ --> https://bit.ly/3iPRDGJ
ไม่มีความคิดเห็น: