เครือข่ายพัฒนาชายแดนใต้ร้องอธิการบดี มอ. คณะอาจารย์ผู้ทำ SEA นิคมจะนะส่อทำตัวไม่ถูกต้อง






เศรษฐกิจ: แกนนำเครือข่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้จาก 3 ตำบลใน อ.จะนะ จ.สงขลา พื้นที่ก่อสร้างเมืองต้นแบบ ยื่นหนังสือถึง 3 หน่วยราชการ ทั้งอธิการบดี ม.อ. ผู้ว่าฯ สงขลา สภาพัฒน์ภาคใต้ เสนอแนะและโต้แย้งคณะผู้ศึกษา SEA ส่อทำตัวไม่ถูกต้องตามหลักการรับฟังความคิดเห็นอย่างเสมอภาค ชักชวนให้คัดค้านโครงการ ให้โอกาสฝ่ายคัดค้านแต่ปิดกั้นฝ่ายสนับสนุน

15 กุมภาพันธ์ 2566 - นายเจะโส็ะ หัดเหาะ และนายศักรียา อมายา เป็นผู้นำแกนนำเครือข่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้รวม 10 คน จาก 3 ตำบลใน อ.จะนะ จ.สงขลา คือ ต.ตลิ่งชัน สะกอม และนาทับ ซึ่งเป็นพื้นที่ก่อสร้างโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต หรือนิคมอุตสาหกรรมจะนะ เข้ายื่นหนังสือถึงหน่วยงานต่างๆ ทั้งอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ ในประเด็นเกี่ยวกับการทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) โครงการเมืองต้นแบบจะนะ ที่มีสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้รับผิดชอบ และมีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็น เป็นผู้รับผิดชอบในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในพื้นที่ ในชื่อโครงการการจัดทำการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ สำหรับแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ของจังหวัดสงขลาและปัตตานี

เครือข่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้แสดงเห็นขณะยื่นหนังสือถึงอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ว่า การกระทำของคณะผู้ศึกษาที่ส่วนใหญ่เป็นอาจารย์จากมหาลัยสงขลานครินทร์ในการประชุมปฐมนิเทศโครงการนี้เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 น่าจะไม่ถูกต้องชอบธรรมตามหลักการรับฟังความเห็นอย่างเสมอภาค ปราศจากการชี้นำหรือครอบงำ เนื่องจากคณะผู้ศึกษาได้ชี้แจงต่อที่ประชุมไปในลักษณะชักชวนปลุกสำนึกให้คัดค้านการพัฒนาอุตสาหกรรม อีกทั้งในการนำเสนอความเห็นแบบกลุ่มย่อยมีลักษณะเปิดโอกาสให้กลุ่มแนวคิดชุมชนนิยม ซึ่งต่อต้านการพัฒนา ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ แต่กลับปิดกั้นฝ่ายที่สนับสนุนอุตสาหกรรม

“ทราบว่าการศึกษาครั้งนี้ใช้งบประมาณเกือบ 30 ล้านบาท หากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ไม่วางตัวเป็นกลางก็อาจกระทบต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของสถาบันได้ จึงได้ทำหนังสือเสนอแนะและโต้แย้งต่อกรณีนี้ ต่ออธิการบดี ซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของคณะอาจารย์เหล่านั้น รวมทั้ง เป็นผู้รับผิดชอบต่อนโยบายเป็นกลางของมหาลัยและคณะศึกษา”

เครือข่ายพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ยังได้แสดงความเห็นต่อ ผอ.ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา ซึ่งออกมารับหนังสือที่ทำถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาว่า ชาว อ.จะนะที่ส่วนใหญ่ฐานะไม่ดี มีปัญหาเรื่องของอาชีพ ทำแล้วยากจนลงทุกวัน มีการให้ข้อมูลเป็นเท็จว่าออกหาปลามีรายได้วันละหลายพันบาท แต่ข้อเท็จจริงคือ ปีหนึ่งออกทะเลได้กี่วันกี่เดือนกลับไม่พูดถึง



“คนในพื้นที่ทำงานไม่พอเลี้ยงครอบครัว ต้องออกจากบ้านไปหาอาชีพอื่นเช่น ลูกจ้างก่อสร้าง และอื่นๆ นักศึกษาจบมาแล้วไม่มีงานทำ เป็นภาระกับครอบครัวและตัวเอง”

เครือข่ายพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้กล่าวว่า มีการยกตัวอย่างนิคมอุตสาหกรรมที่จังหวัดระยอง ที่มาบตาพุตว่า เลวร้าย ถามว่า ทำไม่เขายังอยู่กันได้ มีงานทำ มีรายได้ ไม่ได้อพยพไปไหน เรื่องที่เคยเป็นปัญหาที่ระยอง ที่มาบตาพุต ต้องนำมาเป็นบทเรียน ถ้าอุตสาหกรรมเกิดขึ้นที่ อ.จะนะ เรื่องที่เคยเกิดที่ระยอง ที่มาบตาพุต ต้องไม่เกิดที่จะนะ เพราะต้องมีการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้น

เครือข่ายการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต้องการให้มีการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสนับสนุนให้มีอุตสาหกรรมในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน



ไม่มีความคิดเห็น:

ชายแดนใต้

[๐ ชายแดนใต้][bleft]

งานวิจัย

[๐ งานวิจัย][twocolumns]

คุณภาพชีวิต

[๐ คุณภาพชีวิต][bsummary]

กระบวนการยุติธรรม

[๐ กระบวนการยุติธรรม][bleft]

บทความ

[๐ บทความ][bsummary]

ศิลปวัฒนธรรม

[๐ ศิลปวัฒนธรรม][twocolumns]