กสม.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการรับฟังความเห็น 14 จังหวัดภาคใต้ พัฒนากระบวนการยุติธรรมชั้นต้นธาร





กระบวนการยุติธรรม ๐   กสม.ประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับฟังความเห็นหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ทั้งสำนักงานอัยการศูนย์ดำรงธรรม สถาบันวิชาการ และประชาชนในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ เพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมชั้นต้นธาร

16 พฤษภาคม 2567  -  ที่เดอะ เบส เวเคชั่น สงขลา โฮเทล ถนนชลาทัศน์ อ.เมือง จ.สงขลา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อกระบวนการยุติธรรมในชั้นต้นธาร ภายใต้โครงการขับเคลื่อนนโยบาย กสม. ประเด็นสิทธิในกระบวนการยุติธรรม โดยมีสำนักงานอัยการภาค 8 สำนักงานอัยการภาค 9 สำนักงานศาลยุติธรรมภาค 8 ภาค 

สำนักงานศาลยุติธรรมภาค 9 ศูนย์ดำรงธรรม 14 จังหวัดภาคใต้ สำนักงานยุติธรรมจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ มหาวิทยาลัยในพื้นที่ และภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม จำนวน 140 คน เข้าร่วมประชุม

ในที่ประชุม มีการบรรยายในหัวข้อต่างๆ โดยนายพิทยา จินาวัฒน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้บรรยายในหัวข้อ “สิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม”

และนายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ บรรยายในหัวข้อ “สิทธิในกระบวนการชั้นต้นธาร” การปิดล้อม ตรวจค้น จับกุม ควบคุมตัว สิทธิผู้ต้องหาในชั้นการจับกุม สอบสวน ออกหมายเรียก การปล่อยตัวชั่วคราว สิทธิของจำเลย สิทธิผู้เสียหาย สิทธิของพยาน



ช่วงบ่าย เป็นการสานเสวนาแบบสภากาแฟ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ปัญหาสิทธิมนุษย์ชนกับกระบวนการยุติธรรมในชั้นต้นธาร กลุ่มที่ 2 สาเหตุของปัญหา (กฎหมาย ระเบียบ นโยบาย ผู้บังคับใช้กฎหมาย) กลุ่มที่ 3 การทบทวน แก้ไข ปรับปรุง กระบวนการยุติธรรมในชั้นต้นธาร 

และ กลุ่มที่ 4 ข้อเสนอแนะในการกำหนดกลไก เครื่องมือเพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรมในชั้นต้นธาร ดำเนินการโดยทีมวิทยากรกระบวนการคณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนแห่งชาติ

หลังจากนั้นแต่ละกลุ่มนำเสนอผลเสวนากลุ่มละ 10 นาที ก่อนสรุปผลเสวนา และให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมโดยนายพิทยา จินาวัฒน์ ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และกล่าวปิดเวทีโดยนางสาวปิติกาญจน์ สิทธิเดช กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

กิจกรรมดังกล่าวเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย โดยเฉพาะปัญหาชั้นต้นทาง เช่น การเเจ้งความร้องทุกข์ กล่าวโทษ การจับกุม ควบคุมตัว การสอบสวน การรวบรวมพยานหลักฐาน การตรวจค้น เเละสิทธิประกันตัว ซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน ที่รัฐมีหน้าที่ส่งเสริมเเละคุ้มครองให้ประชาชนได้รับตามหลักสิทธิมนุษยชน

###



ไม่มีความคิดเห็น:

ชายแดนใต้

[๐ ชายแดนใต้][bleft]

งานวิจัย

[๐ งานวิจัย][twocolumns]

คุณภาพชีวิต

[๐ คุณภาพชีวิต][bsummary]

กระบวนการยุติธรรม

[๐ กระบวนการยุติธรรม][bleft]

บทความ

[๐ บทความ][bsummary]

ศิลปวัฒนธรรม

[๐ ศิลปวัฒนธรรม][twocolumns]